วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

***หมายเหตุ***









เวลาเรียนทั้งหมด 14 ครั้ง

 ยกคลาส 3 ครั้ง
 รวมเวลาเข้าเรียน 11 ครั้ง
*ดิฉันบันทึกบล็อกเฉพาะเวลาเข้าเรียนเท่านั้นบันทึกทั้งหมด 11 ครั้ง 
ตามเวลาเข้าเรียน



 










วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 12 November 30.2015






บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

1. The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)



                                                               ผลงานของตัวเอง 






อาจารย์ให้นักศึกษานำผลงานที่สั่งไว้มาเเปะโชว์บนฝาผนังห้อง ซึ่งผลงานของเพื่อนด้วยดูจินตนาการของเพื่อนแต่ละคน











                  ชมวิดีโอเรื่อง ด.เด็ก ช.ช้าง เป็นวิดีโอเกี่ยวกับครูที่สอนศิลปะให้กับเด็ก









 จากการรับชมวีดีโอ 

 เราไม่ควรตัดสินเด็กด้านศิลปะด้วยการให้คะเเนนเด็ก  เพราะจินตนาการ การสื่อความหมายของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าครูตัดสินเเบบนี้เด็กก็จะอยู่ในกรอบไม่สามารถคิดหรือต่อยอดออกไปในแนวอื่นได้



อาจารย์สอน
การบริหารสมอง(Brain Activation)




การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว





การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง



ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ
ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


►ปุ่มขมับ


ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

► ปุ่มใบหู




ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น




การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐








ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ

ท่า จีบ L

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

ท่าโป้ง-ก้อย




 ท่าแตะจมูก-แตะหู




ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

 ท่าแตะหู


ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด


 การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ









       ครูให้แนวทางข้ันตอนในการสอนเด็กว่าเราควรจะนำเข้าสู่การสอนอย่างไร 
  เราควรใช้คำถาม what when where why who เเละ  How




                                                               อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี















2.From what has been learned.(สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้)

      -จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนให้เห็นความคิด มุมมองที่แตกต่างของเพื่อน
 มีผลงานที่หลากหลาย 
     -ได้ข้อคิดในการรับชมวีดีโอครูเปิดใจให้ความเป็นอิสระกับเด็กกับการทำงานศิลปะ เด็กจะต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง  ไม่ควรตัดสินผลงานเพียงเเค่สิ่งที่เราเห็นตรงหน้าควรดูที่ตัวเด็กและให้การสนับสนุน  
     -ได้ท่าทางที่จะนำไปฝึกการบริหารสมอง

     -ได้เเนวทางการใช้คำถามเพื่อที่เราจะได้นำไปสอนเด็กได้ในการจัดประสบการณ์ทางด้านความคิดสร้างสรรค์

     -ปฎิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีมาเรียนตรงเวลา ทำงานและกิจกรรมในห้องเรียนด้วยความตั้งใจ





ก่อนปิดครอสเรียน คุณครูให้ความรู้เพิ่มเติม






การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นตอนการจัดนั้นครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด มีส่วนร่วม โดยครูต้องรู้จักใช้คำถามถามเด็กให้มากๆ คำถามที่ใช้นั้นคือ 5W 1H









3. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา


เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ตอบคำถามในห้องอย่างสนุกสนาน 

ทุกคนมีส่วนร่วมกับการเรียน

ห้องเรียน ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย มีอุกรณ์ในห้องที่ครบถ้วนสมบูรณ์


อาจารย์  แต่งกายสุภาพ สอนได้ละเอียด บรรยายในเนื้อหาให้นักศึกษาฟังได้อย่างครบถ้วนเเละเข้าใจ
ง่าย สอดแทรกเพลงเข้ามาสอนทำให้รู้สึกสนุกไปกับการเรียน



  





Recorded Diary 11 November 23.2015










วันจันทร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2558

** อาจารย์ติดธุระจึงมีการงดการเรียนการสอน **